ค่าตัวโน๊ต และสัญลักษณ์ทางดนตรี

ค่าตัวโน๊ด และสัญลักษณ์ทางดนตรี
เพื่อให้การอ่านแท็บของเราถูกต้องและสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องทราบค่าตัวโน๊ตและสัญลักษณ์ทางดนตรี รวมทั้งตัวหยุดต่าง ๆ เอาไว้ด้วยครับ โดยจะขอกล่าวเฉพาะทฤษฏีเบื้องต้น และที่พบเห็นบ่อย ๆ เท่านั้น

ชื่อเรียกโน๊ตดนตรีสากล

ตัวอย่างโน๊ตบนบรรทัด 5 เส้น

สัญลักษณ์ต่าง ๆ

G-clef หรือ กุญแจซอล
จะสังเกตุเห็นว่าจะม้วนคาบเส้น โน๊ตเส้นนั้นคือเสียง G หรือ ซอล นั่นเอง โน๊ตอื่น ๆ ก็จะไล่ขึ้น-ลงตามลำดับ

Time Signature
ตัวเลขตัวบน หมายถึง จำนวนจังหวะใน 1 ห้อง ว่าใน 1 ห้องดังกล่าวนั้นมีกี่จังหวะนับ เช่น 4หมายถึงในห้องนั้นมี 4 จังหวะนับ ถ้า 3 คือ มี 3 จังหวะนับใน 1 ห้อง
ตัวเลขตัวล่าง หมายถึง การกำหนดว่าจะให้สัญลักษณ์โน๊ตประเภทใดมีค่าเป็น 1 จังหวะ เช่น
เลข 4 จะหมายถึงให้โน๊ตตัวดำ (quarter note) มีค่าเป็น 1 จังหวะนับ และมีผลให้โน๊ตตัวขาว (half note) มีค่าเป็น 2 จังหวะนับ โน๊ตตัวกลม whole note) มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ และโน๊ตเขบ็ต 1 ชั้น (eighth note) มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น

โน๊ตประจุด (Dotted Note)
โน๊ตประจุด (Dotted Note) จะทำให้ค่าตัวโน๊ตนั้นมีจังหวะยาวขึ้นมาอีก ครึ่งหนึ่งของตัวมันเอง จะใช้จุด (dot) แทนค่า โดยเขียนจุดไว้ด้านข้างของตัวโน๊ต ที่ต้องการเพิ่มจังหวะ

Repeat การเล่นซ้ำ
เมื่อเจอเครื่องหมาย Repeat ให้เล่นซ้ำ

ตัวอย่าง

อธิบายตามภาพนะครับ
Tempo = ก็คือ ความเร็วในการเล่น ถ้าตัวเลขยิ่งสูง ความเร็วก็ยิ่งเร็ว
Repeat การเล่นซ้ำ
เมื่อเจอเครื่องหมาย Repeat ให้เล่นซ้ำ ตัวอย่าง เล่นห้องที่ 1 จนไปถึงห้องที่ 3 แล้วย้อนไปเล่นห้องที่ 1 - 3 อีก 1 รอบ จากนั้นเล่นห้องที่ 4 ทั้งหมด 4 รอบ สังเกตุจะเห็นตัว 4x อยู่ด้านบน

Rest หรือตัวหยุด
เมื่อเจอเครื่องหมาย Rest หรือตัวหยุด ก็ให้หยุดเล่นตามค่าของตัวหยุดนั้น ๆ ครับ


Add to Favorites